เปิดที่มา "ฮากา" ศิลปะแห่งการข่มขวัญคู่ต่อสู้ของนักรักบี้ทีมชาตินิวซีแลนด์

11-07-2022
2นาทีที่อ่าน

ทุกครั้งเราดูรักบี้ทีมชาตินิวซีแลนด์ลงสนาม เราจะรู้สึกกลัว, น่าสงสัย และเฉยๆ ปะปนทุกครั้ง เมื่อเห็นเต้นฮากา ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงของชาวเมารี ที่ผู้เล่นนิวซีแลนด์เต้นทุกครั้งก่อนลงสนาม

ฮากาได้พัฒนาจากการข่มขวัญคู่ต่อสู้ในสนามรบสู่การฉลองวันเกิด และกลายเป็นสัญลักษณ์ของนิวซีแลนด์ได้อย่างไร? The Sporting News มีคำตอบ

ความภาคภูมิใจแห่งชาวเมารี

เว็บไซต์การท่องเที่ยวนิวซีแลนด์ ได้ระบุไว้ว่า ฮากาเป็นการแสดงของชาวเมารีเพื่อข่มขวัญคู่ต่อสู้ในสงคราม นิยมแสดงเป็นหมู่คณะเพื่อแสดงถึงความภาคภูมิใจ, ความแข็งแกร่ง และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ตามตำนานเมารี กล่าวไว้ว่า ทามานุยเทร่า เทพแห่งดวงอาทิตย์ และฮิเน เรามาติ ภรรยา ได้สร้างลูกชายชื่อทาเนโรเรในช่วงฤดูร้อน โดยทาเนโรเรเต้นให้แก่แม่ของเขาในฤดูร้อน ซึ่งกลายเป็นที่มาของฮากา 

ผู้เต้นจะต้องกระทืบเท้า, แลบลิ้น, ตบร่างกายและร้องเพลงระหว่างแสดงฮากา ซึ่งเนื้อเพลงดั้งเดิมอธิบายความเป็นมาของชนเผ่าผ้่านเหตุการณ์สำคัญต่างๆ โดยการแสดงฮากาทำได้ทั้งในยามสงบ เช่น งานแต่งงาน และยามสงคราม

 

 

สัญลักษณ์แห่งความแข็งแกร่ง

นักรักบี้ทีมชาตินิวซีแลนด์เต้นฮากาโดยใช้เพลง “คา มาเต” ที่แต่งโดยเต เราปาราฮา หัวหน้าเผ่างาติ โตอา โดยเนื้อหาเพลงนี้เกี่ยวกับการเฉลิมฉลองชีวิตที่เอาตัวรอดจากความตาย 

การแสดงฮากาใช้เพื่อแสดงความแข็งแกร่งและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก่อนเกม ซึ่งฝ่ายหญิงก็มีการแสดงฮากาโดยใช้เพลง “โค อูเฮีย ไม” 

 


การแสดงฮากาประกอบด้วยการตะโกนเสียงดัง, กระทีบเท้า, ตบตัว, จ้องด้วยสายตาน่ากลัวและแลบลิ้นก่อนแข่ง

MORE: Video: All Blacks haka as you've never heard it before

อยู่หรือตาย

ท่อนหลักของเนื้อเพลงคา มาเต ประกอบการแสดงฮากามีความหมายว่าดังนี้

“ฟังให้ดี เตรียมตัวไว้ กุมอาวุธให้มั่น” จากนั้นเอามือตบน่อง กระทืบเท้าให้แรงที่สุดเท่าที่จะทำได้

“จะอยู่หรือตาย นั่นเป็นมนุษย์ขนผู้เรียกดวงอาทิตย์และแสงสว่าง เดินขึ้นไป เดินขึ้นไป ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว”

Getty Images

 

ไม่ได้มีแค่รักบี้

นอกจากทีมรักบี้ชายและหญิงที่แสดงฮากาแล้ว ทีมฮอกกี้ก็เคยแสดงฮากา เช่นเดียวกันกับนักกีฬานิวซีแลนด์ที่เคยเต้นฮากาต่อหน้าพระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 2 ในงานคอมมอนเวลธ์เกมส์เมื่อปี 2002 มาแล้ว

Scroll to Continue with Content

 


นอกจากนี้ ยังมีนักกีฬาปาเป้านิวซีแลนด์ที่เคยแสดงฮากาในงานชิงแชมป์โลกที่พบกับทีมชาติออสเตรเลียเมื่อปี 2013 อีกด้วย

ไม่จำเป็นต้องแสดงก่อนแข่งกีฬา

ฮากาเป็นการแสดงเพื่อให้เกียรติบุคคลฝนโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น งานแต่งงานและงานศพ 

เมื่อพระราชินีเอลิซาเบ็ธสวรรคต ชาวนิวซีแลนด์ได้แสดงฮากาเพื่อถวายความอาลัย 

เว็บไซต์การท่องเที่ยวนิวซีแลนด์ ได้ระบุไว้ว่า ชาวนิวซีแลนด์ที่ไม่ใช่ชาวเมารีต่างเรียนรู้ที่จะแสดงฮากาเพื่อแสดงความเคารพต่อวัฒนธรรมท้องถิ่น

“การเรียนรู้ผ่านถ้อยคำและตัวอักษรจะทำให้คุณเข้าใจความหมายและความสำคัญของฮากา รวมไปถึงสีหน้าของคุณเมื่อทำการแสดง” ข้อความในเว็บไซต์

วิธีตอบโต้ฮากาจากชาติต่างๆ

มีหลายทีมที่พยายามแสfดงปฏิกิริยารับมือฮากาแตกต่างกันไป

ทีมชาติออสเตรเลียไม่สนใจฮากาและทำการวอร์มอัพต่อไป ในเกมรักบี้ไตรเนชันส์เมื่อปี 1996 สุดท้ายเป็นนิวซีแลนด์ที่หัวเราะทีหลังดังกว่าด้วยการถล่มออสเตรเลียขาดลอย 43-6 

ทีมชาติเวลส์คล้องแขนกันไว้และหลีกเลี่ยงการสบตาในปี 2008

ทีมชาติฝรั่งเศสถูกปรับ ขณะบุกเข้าหาทีมชาตินิวซีแลนด์ระหว่างการแสดงในรายการชิงแชมป์โลกปี 2011 เช่นเดียวกันกับทีมชาติอังกฤษที่เข้าหาระยะ 10 เมตรในรายการชิงแชมป์โลกอีก 8 ปีต่อมา

 

 

องค์กรรักบี้โลกรายงานว่า อังกฤษทำลาย “พิธีการทางวัฒนธรรม” โดยยืนเข้าหาเป็นรูปตัว V ขณะการแสดงฮากา

“เรารู้ว่าเราอยู่ในรัศมีของพวกเขา แต่เราไม่อยากเข้าหาเขา และอยากให้เขาเดินเข้ามาหาเรา เราเว้นระยะให้พวกเขา แต่เราไม่อยากยืนเป็นแถวหน้ากระดาน” โอเว่น ฟาร์เรลล์ กัปตันรักบี้อังกฤษกล่าว

แผนการของทีมชาติอังกฤษได้ผล ด้วยการเอาชนะนิวซีแลนด์ไปได้ 19-7 ในรอบรองชนะเลิศ

มีหลายคนแนะนำให้ทีมชาตินิวซีแลนด์หยุดแสดงฮากา เพราะสนามรักบี้ไม่มีที่ว่างให้กับการแสดงออกทางวัฒนธรรม ถึงแม้ว่าจะมีหลายคนไม่เห็นด้วยก็ตาม

แม้ใครจะมองว่าฮากาเป็นอย่างไร แต่ฮากาเปรียบเสมือนสัญลักษณ์สำคัญของรักบี้ทีมชาตินิวซีแลนด์ที่ช่วยให้คว้าแชมป์โลก 3 ครั้งในปี 1987, 2011 และ 2015

NBA LEAGUE PASS สมัครเพื่อชมการแข่งขันเอ็นบีเอสดทุกนัดคลิก