แมนยูครองบอลไม่ได้ : ปัญหาใหญ่พาปีศาจแดงฟอร์มตก

08-22-2023
2นาทีที่อ่าน
Getty Images

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ล่าสุดกลายเป็นประเด็นร้อนในวงการฟุตบอล เพราะตลอด 2 เกมแรกของพรีเมียร์ลีก พวกเขาทำผลงานได้ไม่น่าประทับใจเอาเสียเลย

เริ่มต้นจากการชนะวูลฟ์แฮมป์ตัน 1-0 แต่รูปเกมไม่ได้ดูดีกว่าคู่แข่ง เกือบเสียประตูอยู่หลายครั้ง โชคดีที่วูลฟ์จบไม่คมเอง จนเก็บ 3 คะแนนมาได้

แต่สุดท้ายบาดแผลที่ของทัพปีศาจแดงก็ปิดไว้ไม่มิด ในเกมที่ 2 พวกเขาบุกไปเยือนสเปอร์ส และโดนทัพไก่เดือยทองสอนบอลจนต้องหอบความพ่ายแพ้กลับบ้านด้วยสกอร์ 0-2 

ผลงานที่เรียกได้ว่า ไม่ยอดเยี่ยมเหมือนฤดูกาลที่ผ่านมา กลายเป็นที่ถกเถียงของแฟนแมนยูว่า “เกิดอะไรขึ้นกับทีมรักของพวกเขา”

วันนี้ บก.จิมมี่ จาก The Sporting News จะพามาปัญหาดูถึงเรื่องการครองบอล ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของผลงานอันย่ำแย่ของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในฤดูกาลนี้

นอกจากนี้หากคุณเชื่อว่า แมนยูจะฟอร์มไม่ดีไปอีกหลายเกม สามารถ ร่วมทายผลงานของแมนยูชิงรางวัลได้ที่นี่

แมนยูครองบอลไม่ได้ : ปัญหาใหญ่พาปีศาจแดงฟอร์มตก

ปัญหาที่เป็นแกนกลางของปัญหาฟอร์มการเล่นของแมนยูในฤดูกาล 2023-24 คือพวกเขาไม่สามารถครองบอลได้ดี เหมือนในฤดูกาลที่ผ่านมา 

เพราะในฤดูกาล 2022-23 ค่าเฉลี่ยนการครองบอลของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ตลอดทั้ง 38 เกมในพรีเมียร์ลีก อยู่ที่ 57 เปอร์เซ็นต์ ระดับหัวแถวของลีก

แต่จาก 2 นัดแรกในฤดูกาล 2023-24 แมนยูกลับครองบอลเฉลี่ยได้แค่ 47.5 เปอร์เซ็นต์ น้อยลงกว่า 10 เปอร์เซ็นต์จากฤดูกาลที่ผ่านมา

เหตุผลนั้นชัดเจนว่า มาจากความพยายามเปลี่ยนสไตล์การเล่นของ เอริค เทน ฮาก นายใหญ่ของทัพปีศาจแดง 

Getty Images

เพราะฤดูกาลนี้ เทน ฮาก มาพร้อมกับแผนใหม่ในหัว ด้วยฟุตบอลที่เพรซซิ่งดุดัน ใช้กองกลาง และกองหน้า ไล่บี้เข้าไปถึงพื้นที่สุดท้ายของคู่แข่ง หวังจะแย่งบอลมาครองให้ได้ไวที่สุด 

นี่คือความตั้งใจของเทน ฮาก โดยกุนซือรายนี้เคยให้สัมภาษณ์ว่า เขาต้องการให้แมนยูเป็นทีมฟุตบอลที่เปลี่ยนจากรับเป็นรุกให้มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก

Scroll to Continue with Content

ดังนั้น สิ่งที่ เทน ฮาก ต้องการในฤดูกาลนี้คือ การไล่เพรซซิ่งคู่แข่งแบบดุดัน เพื่อหวังเอาบอลกลับมาครองในจังหวะที่คู่แข่งไม่ทันตั้งตัว หลังจากนั้นใช้เกมบุกสวนกลับเร็ว หวังทำประตูให้ได้ในตอนที่คู่แข่งยังต้องเสียเวลาเปลี่ยนตำแหน่งจากรุกเป็นรับ

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ ตัวรุกของแมนยูใน 2 เกมแรก มีแต่นักเตะที่รวดเร็ว ทั้ง แรชฟอร์ด, การ์นาโช่ และแอนโทนี่ หรือแดนกลางก็ใช้ผู้เล่นที่พร้อมจะเคลื่อนที่ไปแดนหน้าคือ เมสัน เมาท์ และบรูโน่ แฟร์นันด์ส 

แต่สิ่งที่เสียไปคือการครองบอล จากที่เคยใช้ คาเซมิโร จับคู่กับ คริสเตียน อีริคเซ่น สร้างความแน่นอนในด้านกลาง คุมจังหวะเกมได้ ทำให้สามารถกดดันคู่แข่งได้ต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันกลางของแมนยูกลายเป็นบอลแบบหน้าถึงหลัง คือต้องได้บุก หรือไม่ก็โดนบุก ไม่มีการคุมจังหวะเกมเพื่อดึงโมเมนตัมแต่อย่างใด 

Getty Images

ซึ่งในแง่หนึ่งแล้ว การครองบอลก็คือการสร้างความมั่นคงในเกมรับ เหมือนที่ เป๊ป กวาร์ดิโอลา เคยกล่าวไว้ “การครองบอลคือเกมรับที่ดี่สุด” เพราะเท่ากับว่าเราไม่ได้เสียบอลให้คู่แข่งเอาไปเล่น

กลับมาที่แมนยู เมื่อพวกเขาครองบอลน้อย นั่นหมายความว่าบอลก็อยู่ที่คู่แข่งเยอะเช่นกัน และกลายเป็นเหตุผลที่ทำให้แมนยู โดนคู่แข่งบดใส่ไม่ยั้งในฤดูกาลนี้ 

นอกจากนี้การไม่ได้ครองบอล ก็เป็นเหมือนการเปิดพื้นที่ให้คู่แข่งโจมตี เพราะการครองบอลช่วยให้ทีมได้คุมพื้นที่เล่นในสนาม (นึกถึงแมนเชสเตอร์ ซิตี้ และอาร์เซนอล) บีบคู่แข่งลงไปตั้งรับลึก ส่วนทีมที่ครองบอลก็เลือกเล่น และเคลื่อนที่ในพื้นที่ที่ควบคุมได้ตามสบาย

แต่แมนยู เมื่อไม่ได้ครองบอล ภาพที่เห็นชัดเจนในเกมพบกับสเปอร์ส ทำให้ผู้เล่นของสเปอร์สหลายคนในเกมนั้น เคลื่อนที่ทำเกมบุกอย่างเป็นอิสระ ทั้ง เปโดร ปอร์โร และ เจมส์ แมดดิสัน เข้ามาเคลื่อนที่เซ็ตบอลจากแดนกลาง จนกลายเป็นว่าทำให้ผู้เล่นแมนยูกลายเป็นฝ่ายต้องมาคอยไล่บอล เล่นเกมรับเสียเอง

รวมถึงการไม่ได้ครองบอลเหนือคู่แข่ง ในแง่ของจิตวิทยาก็เป็นการบอกว่า “แมนยูไม่ได้เหนือกว่าคู่แข่งเท่าไหร่นัก” แม้ว่าความจริงต่อให้แมนยูจะเหนือกว่า แต่การที่ไม่ได้ครองบอลมากกว่า หรือครองบอลกับทีมที่สูสีกับทีมที่อ่อนชั้นกว่า ก็ยิ่งทำให้คู่ต่อสู้รู้สึกเหมือนว่า พวกเขาสามารถสู้กับแมนยูได้ กำลังใจก็มีเพิ่มขึ้นมา พร้อมจะแลกหมัดกับแมนยู โดยไม่กลัวความพ่ายแพ้ 

อีกทั้ง เราต้องยอมรับว่า การเปลี่ยตัวจริงแดนกลางจาก คริสเตียน อิริคเซน สู่ เมสัน เมาท์ ทำให้ประสิทธิภาพในการครองบอล และจ่ายบอลอย่างแม่นยำของแมนยู ลดลงไปมากทีเดียว

getty images

ดังนั้นคำถามสำคัญอยู่ที่ เอริค เทน ฮาก แล้วว่า จะยอมฝืนเล่นแทคติกใหม่ที่ไม่ได้เหมาะกับทีมต่อไป หรือกลับมาใช้แทคติกเก่าเพื่อเรียกความเชื่อมั่นของแฟนบอลกลับมา 

ขอบคุณข้อมูลด้านสถิติจาก : Fotmob และ FBREF

บทความที่เกี่ยวข้อง : โปรแกรมแมนยูทุกรายการ - ตารางแข่งแมนฯ ยูฯ จนจบฤดูกาล