กอบกู้หรือกอบโกย : วิเคราะห์ผลงานเศรษฐีอเมริกันในพรีเมียร์ลีก

09-19-2022
2นาทีที่อ่าน
(Getty Images)

พรีเมียร์ลีกเป็นลีกที่รับได้ความสนใจจากคนทั่วโลก เพราะเป็นลีกที่เต็มไปด้วยสโมสรและผู้เล่นระดับชั้นนำของโลกมารวมตัวกัน ทำให้มีมหาเศรษฐีจากทั่วทุกทวีปต่างสนใจที่จะเข้ามาลงทุนเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองและพัฒนาสโมสรให้ก้าวขึ้นไปอีกระดับ 

เช่นเดียวกันกับเศรษฐีจากสหรัฐอเมริกาที่มีประสบการณ์การบริหารสโมสรกีฬามานานหลายสิบปี เมื่อเข้ามาบริหารสโมสรฟุตบอลอังกฤษ พวกเขาจะได้รับการจดจำในฐานะอะไร? พ่อพระหรือโจรใส่สูท?

สแตน โครเอนเก้ - อาร์เซนอล

โครเอนเก้เข้ามาถือหุ้นอาร์เซนอลตั้งแต่ปี 2007 และขึ้นเป็นประธานสโมสรอยางเต็มต้วในปี 2018 ช่วงเวลาที่เขาบริหารสโมสร ถือเป็นช่วงที่ตกต่ำที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์สโมสร ด้วยการจบอันดับ 8 ของตารางถึง 2 ฤดูกาลซ้อน ซื้อตัวผู้เล่นเป็นสถิติสโมสรอย่างนิโคลัส เปเป้ แต่โชว์ฟอร์มได้อย่างน่าผิดหวัง 

นอกจากนี้ โครเอนเก้ยังมีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีกับแฟนบอล เนื่องจากแฟนบอลเห็นว่าโครเอนเก้ให้ความสนใจกับแอลเอ แรมส์มากกว่า และการแรมส์ประสบความสำเร็จด้วยการคว้าแชมป์ซูเปอร์โบวล์ ยิ่งทำให้แฟนอาร์เซนอลสงสัยว่าโครเอนเก้บริหารอาร์เซนอลเพื่อหล่อ แต่อาร์เซนอลก็เริ่มเติบโตขึ้นหลังจากที่เปิดโอกาสให้มิเกล อาร์เตต้าคุมทีมได้อย่างเต็มตัว จนติดท็อปโฟร์ได้ในเวลานี้

ผลการวิเคราะห์: แรกๆกอบโกย ค่อยๆกอบกู้

เวสลีย์ อีเดน - แอสตัน วิลล่า

นับตั้งแต่เขาร่วมมือกับนาสเซฟ ซาวิริสในการซื้อหุ้นของสโมสรจากโทนี่ เซียะ ในปี 2018 แอสตันวิลล่ากลายเป็นทีมที่สามารถอยู่รอดในพรีเมียร์ลีกได้อย่างสบายๆ และพยายามยกระดับสโมสรไปอยู่อันดับที่สูงกว่าขึ้น ด้วยการดึงสตีเว่น เจอร์ราร์ด เป็นผู้จัดการทีมเมื่อพฤศจิกายน 2021 รวมไปถึงผู้เล่นอย่างฟิลิปป์ คูตินโญ่, ดิเอโก้ คาร์ลอส และเลอันโดร เดนดองเกอร์ เพื่อประสานงานกับผู้เล่นชุดเก่าอย่างเอมิเลียโน มาร์ติเนซ, โอลลี่ วัตกอนส์ และเลออน เบลีย์ 

 

ผลการวิเคราะห์: กอบกู้

@MirrorFootball

ท็อดดฺ์ โบห์ลี - เชลซี

เจ้าของร่วมสโมสรเบสบอลแอลเอ ด็อดเจอร์ส ถือเป็นพ่อพระมาโปรดของแฟนบอลเชลซี หลังเข้าซื้อสโมสรต่อจากโรมัน อบราโมวิช ทีโดนรัฐบาลสหราชอาณาจักรคว่ำบาตรจากกรณีรัสเซียรุกรานยูเครน

เมื่อเริ่มฤดูกาล 2022-23 เขาตัดสินใจอย่างฉับไวด้วยการปลดโธมัส ทูเคิลออกจากตำแหน่งเฮดโค้ช แม้จะเคยพาทีมคว้าแชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีกก็ตาม นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ริเริ่มไอเดียจัดการแข่งขันระหว่างทีมรวมดาราเหนือ-ใต้ เหมือนกับออลสตาร์เกมส์ในสหรัฐอเมริกา

 ผลการวิเคราะห์: ยังไม่สามารถตัดสินได้

จอห์น เท็กซ์เตอร์ และพาเลซ โฮลด์โค - คริสตัล พาเลซ

จอห์น เท็กซ์เตอร์ เจ้าของสโมสรโบโตโฟโก้ในบราซิลและโมเลนบีคในเบลเยี่ยม ร่วมกับ จอช แฮร์ริส และเดวิด บลิทเซอร์ บริหารสโมสรกับสตีฟ พาริช เจ้าของเดิม และประคับประคองคริสตัล พาเลซให้อยู่รอดในพรีเมียร์ลีกถึง 10 ฤดูกาลติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรในปี 1905

ผลการวิเคราะห์: กอบกู้

Scroll to Continue with Content

 

ชาฮิด ข่าน - ฟูแล่ม

เจ้าของสโมสรอเมริกันฟุตบอลแจ๊คสันวิลล์ จากัวรส์สานต่อภารกิจจากโมฮัมเหม็ด อัล ฟาเยตในปี 2013 ด้วยเงินจำนวน 150-200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5,500-7,300 ล้านบาท) และค่อยๆพัฒนาฟูแล่มให้สามารถยืนระยะในพรีเมียร์ลีกให้นานมากกว่า 1 ฤดูกาล หลังใช้ชีวิตขึ้นๆลงๆระหว่างพรีเมียร์ลีกกับแชมเปี้ยนชิพตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา

ผลการวิเคราะห์: กอบกู้

ไฟร์ตี้ไนเนอร์ส เอ็นเตอร์ไพรส์ - ลีดส์ ยูไนเต็ด

เดนิส เดบาร์โตโล่, เจค และ จอห์น สามพี่น้องตระกูลยอร์คแห่งกลุ่มไฟร์ตี้ไนเนอร์ส เข้าถือหุ้น 44% ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 รองจากอันเดรีย ราดริซซานี่ที่ถือหุ้น 56% ตั้งแต่ปี 2018 โปร์ตี้ไนเนอร์สร่วมงานกับราดริซซานี่ในการพัฒนาลีดส์ให้สามารถยืนระยะในพรีเมียร์ลีกและยกระดับสโมสรให้สามารถเข้าร่วมรายการสโมสรฟุตบอลยุโรปในอนาคต

ผลการวิเคราะห์: กอบกู้

(Getty Images)

จอห์น ดับบลิว เฮนรี่ และ ทอม เวอร์เนอร์ - ลิเวอร์พูล

ในปี 2010 แฟนๆลิเวอร์พูลเฉลิมฉลองกันยกใหญ่ เมื่อได้กลุ่มบริหารกลุ่มใหม่แทนที่ทอม ฮิคส์และจอร์จ ยิลเลตต์ที่สร้างความปั่นป่วนและปวดหัวอยู่ตลอดเวลา 

เฮนรี กับ เวอร์เนอร์ จากเฟนเวย์ สปอร์ตส์ กรุ๊ป ได้ช่วยให้ลิเวอร์พูลเป็นทีมระดับแชปมแ์อย่างเต็มตัว และสามารถแชมป์ทุกรายการที่เข้าร่วมทั้งพรีเมียร์ลีก, เอฟเอคัพ, ลีกคัพ, ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก และสโมสรโลก ภายใต้การนำของเจอร์เก้น คล็อปป์ ประกอบกับผู้บริการทั้งสองคนต่างเอาใจใส่แฟนคลับอยู่เสมอ แล้วแฟนบอลลิเวอร์พูลจะไม่รักกลุ่มเฟนเวย์ได้อย่างไร

ผลการวิเคราะห์: กอบกู้

ตระกูลเกลเซอร์ส - แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

หากเปรียบกลุ่มเฟนเวย์เปรียบเสมือนเทวดา ตระกูลเกลเซอร์สคงเป็นขั้วตรงข้าม นับตั้งแต่เข้ามาบริหารสโมสรแบบค่อยๆทะยอยซื้อหุ้นจนกลายเป็นเจ้าของสโมสรอย่างเต็มตัว ก็ปล่อยให้ผู้บริหารทำงานผิดพลาดกันอย่างต่อเนื่อง แม้จะนำรายได้เข้าสู่สโมสรมากแค่ไหนก็ตาม แถมยังสร้างหนี้เอาไว้ และไม่มีทางที่ตระกูลนี้ออกจากสโมสรอย่างง่ายๆ แม้แฟนบอลจะก่อเหตุประท้วงอยู่หลายครั้ง แต่ก็ยังอยู่ปกครองสโมสรต่อไปจนกว่าจะมีนายทุนรายใหทุ่มเงินมหาศาลเพื่อซื้อสโมสรแห่งนี้ แต่ทางเกลเซอร์สก็ตั้งราคาไว้สูงมากเกินความสามารถที่จะซื้อได้

 ผลการวิเคราะห์: กอบโกย

อัลเบิร์ต สมิธ - เวสต์แฮม ยูไนเต็ด

สมิธถือหุ้นอยู่ประมาณ 10% ของสโมสร แต่อำนาจการบริหารสโมสรอยู่ในมือของเดวิด ซุลลิแวนที่ถือหุ้นอยู่ 38.8% ประกอบกับการที่สมิธเป็นนักธุรกิจที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข่องกับสโมสรกีฬาใดๆมาก่อน จึงไม่ค่อยแสดงความเห็นเกี่ยวกับสโมสรผ่านสื่อเท่าใดนัก เมื่อเทียบกับนักธุรกิจรายอื่นๆ


 ผลการวิเคราะห์: ลงทุนเงียบๆ ไม่มีปากมีเสียง